วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แบบทดสอบ

วิธีการเข้าทำแบบทดสอบ
       
            คุณสามารถกดที่ลิ้งตามข้างล่างนี้ แล้วรอซักครู่จะมี  ปุ่มDOWNLOADขึ้นมา

จากนั้นคุณสามารถกดปุ่มเพื่อเข้าสู่แบบทดสอบของหน่วยต่างๆได้แล้ว ง่ายนิดๆ



หน่วยที่ 1 : เครื่องดนตรีไทย

       แบบทดสอบ เครื่องดนตรีไทย



หน่วยที่ 2 : วงดนตรีไทย




หน่วยที่ 3 : ประวัติคีตกวีไทย
      
       แบบทดสอบ คีตกวีไทย

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติผลงานคีตกวีไทย

พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต)

          ครูโสม เกิดที่ฝั่งธนบุรี เริ่มเรียนระนาดลิเกจากน้าชาย จากนั้นได้เข้าร่วมเป็นนักดนตรีในกองดนตรีของสมเด็จพระบรม (รัชกาลที่ 6) เป็นคนตีระนาดหน้าฉากเวลาละครเปลี่ยนฉาก มีฝีมือในทางระนาดเป็นเยี่ยม ถึงขนาดเคยตีเอาชนะนายชิน ชาวอัพวา ซึ่งเป็นระนาดมือหนึ่งในสมัยนั้นมาแล้ว
นอกจากนั้นยังสามารถตีรับลิเกในเพลงที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนได้ด้วย จนพระยาประสานดุริยศัพท์ชมว่า "โสมแกเก่งมาก ครูเองยังจนเลย"
ครั้งหนึ่งเคยได้ตีระนาดเพลงกราวในถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งทรงพระประชวรให้บรรทม ครั้นตื่นพระบรรทมก็ทรงชมว่า "โสม เจ้ายังตีฝีมือไม่ตกเลย" นับว่าการตีปี่พาทย์ประกอบโขนละครในสมัยนั้น (รัชกาลที่ 5-7) ไม่มีใครสู้ครูโสมได้
ท่านได้บรรดาศักดิ์เป็นพระ เมื่อ พ.ศ.2460 และถึงแก่กรรมเพราะซ้อมระนาดหนักจนพักผ่อนไม่เพียงพอ และทานอาหารไม่เป็นเวลาจนเป็นโรคกระเพาะ รวมอายุได้ 49 ปี


..................................



หลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง)

         เป็นบุตรครูสิน ศิลปบรรเลง ซึ่งเป็นศิษย์ของพระประดิษฐ์ไพเราะ เป็นคนจังหวัด สมุทรสงคราม มีฝีมือในการตีระนาดที่หาตัวจับยาก จึงมีชื่อเสียงโด่งดัง ครั้นได้ตีระนาดถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์ ก็ได้รับรางวัลมากมาย และได้ประทานตำแหน่งเป็น "จางวางมหาดเล็กในพระองค์" คนทั่วไปจึงเรียกว่า "จางวางศร"
นอกจากระนาดแล้ว ท่านยังสามารถบรรเลงปี่ได้ดี และสามารถคิดหาวิธีเป่าปี่ให้ เสียงสูงขึ้นกว่าเดิมได้อีก 2 เสียง
ในด้านการแต่งเพลง ท่านสามารถแต่งเพลงได้เร็ว และมีลูกเล่นแพรวพราว แม้ในการประกวดการประดิษฐ์ทางรับ คือการนำเพลงที่ไม่เคยรู้จักมาร้องให้ ปี่พาทย์รับ ท่านก็สามารถนำวงรอดได้ทุกครา

ผลงานเด่นๆ ของท่านมีมากมาย ได้แก่
- ประดิษฐ์วิธีบรรเลงดนตรี "ทางกรอ" ขึ้นใหม่ในเพลง"เขมรเรียบพระนครสามชั้น"    เป็นผลให้ได้รับพระราชทานเหรียญรุจิทอง ร.5 และ ร.6
- ต้นตำรับเพลงทางเปลี่ยน คือ เพลงเดียวกันแต่บรรเลงไม่ซ้ำกันในแต่ละเที่ยว
- พระอาจารย์สอนดนตรีแด่พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนทรงมีพระปรีชาสามารถ  พระราชนิพนธ์เพลงได้เอง คือเพลง "คลื่นกระทบฝั่งโหมโรง"   "เขมรละออองค์เถา" และ "ราตรีประดับดาวเถา"
- คิดโน๊ตตัวเลขสำหรับเครื่องดนตรีไทยซึ่งได้ใช้มาจนทุกวันนี้
- นำเครื่องดนตรีชวาคือ "อังกะลุง" เข้ามาและได้แก้ไขจนเป็นแบบไทย
- สอนดนตรีไทยในพระราชสำนักเมืองกัมพูชา และได้นำเพลงเขมรมาทำเป็น   เพลงไทยหลายเพลง
- ตันตำรับการแต่งเพลงและบรรเลงเพลง 4 ชั้น
ท่านเป็นคีตกวีในสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 ซึ่งนับว่าเป็นดวงประทีปทาง ดนตรีไทย ที่ใหญ่ที่สุดในยุคที่ดนตรีไทยเฟื่องฟูที่สุดด้วย


การแสดงอังกะลุง



..................................

ระยาประสานดุริยศัพท์(แปลก ประสานศัพท์)
        "ครูแปลก" เกิดที่หลังวังกรมพระสมมตอมรพันธ์ เป็นศิษย์คนหนึ่งของครูช้อย สุนทรวาทิน ท่านเคยได้บรรเลงเดี่ยวขลุ่ยถวายต่อหน้า สมเด็จพระนางเจ้าวิคทอเรียที่พิพิธภัณฑ์เมืองริมบลีย์ จนถึงกับถูกขอให้ไปเป่าถวายในพระราชวังบัคกิงแฮมต่อด้วย
ครูแปลกเป็นคนติดเหล้าอย่างหนัก แต่ไม่เคยเมาต่อหน้าศิษย์ ได้เป็นครูสอนวงเครื่องสายหญิงของเจ้าดารารัศมี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ครั้งแรกเป็นขุนประสานดุริยศัพท์ จนได้เป็นพระยาประสานดุริยศัพท์ใน พ.ศ. 2458 ท่านเคยเป่าปี่เพลงทยอยเดี่ยวในพระประดิษฐ์ไพเราะฟัง ถึงกับได้รับคำชมว่า "เก่งไม่มีใครสู้"
         นอกจากท่านจะเชี่ยวชาญปี่และขลุ่ยแล้ว ยังเก่งพวกเครื่องหนังด้วย ขนาดสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภานณุพัธุวงศ์วรเดชตรัสชมว่า "ไม่ใช่คนนี่.. ไอ้นี่มันเป็นเทวดา" ท่านเป็นอาจารย์ของศิษย์ชั้นครูมากมาย เช่นพระเพลงไพเราะ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ พระยาภูมิเสวิน อาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นต้น
 
         ผลงานเพลงที่สำคัญได้แก่ เพลงเขมรปากท่อเถา เขมรราชบุรีสามชั้น ธรณีร้องไห้สามชั้น (ธรณีกันแสง) พม่าห้าท่อนสามชั้น วิเวกเวหาสามชั้น แขกเชิญเจ้าสองชั้น

..................................










วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

วงมโหรี

วงมโหรี

วงมโหรี เป็นวงดนตรีผสม ตั้งแต่มีไม่กี่สิ่ง จนกลายเป็นวงเครื่องสายผสมกับวงปี่พาทย์ดังนี้
  • วงมโหรีโบราณ
  • มโหรีวงเล็ก
  • วงมโหรีเครื่องคู่
  • วงมโหรีเครื่องใหญ่
  • วงมโหรีเครื่องสี่
  • วงมโหรีเครื่องหก 
  • วงมโหรีเครื่องแปด



วงมโหรีโบราณ
     มีเครื่องดนตรีและผู้บรรเลงเพียง ๔ คน
          ๑. ซอสามสาย สีเก็บบ้าง โหยหวนเสียงยาวๆ บ้าง มีหน้าที่คลอเสียงคนร้องและดำเนินทำนอง
          ๒. กระจับปี่ ดีดดำเนินทำนองถี่บ้างห่างบ้าง เป็นหลักในการดำเนินเนื้อเพลง
          ๓. โทน ตีให้สอดสลับไปแต่อย่างเดียว (เพราะยังไม่มีรำมะนา) มีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ
          ๔. กรับพวง ตีตามจังหวะห่างๆ มีหน้าที่กำกับจังหวะย่อย ซึ่งคนร้องเป็นผู้ตี
          
 
 
 
          วงมโหรีอย่างนี้ได้ค่อยๆ เพิ่มเครื่องดนตรีมากขึ้นเป็นขั้นๆ ขั้นแรกเพิ่มรำมะนาให้ตีคู่กับโทน แล้วเพิ่มฉิ่งแทนกรับพวง ต่อมาก็เพิ่มขลุ่ยเพียงออ และนำเอาจะเข้เข้ามาแทนกระจับปี่ต่อจากนั้น ก็นำเอาเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายและวง ปี่พาทย์เข้ามาผสม แต่เครื่องดนตรีที่นำมาจากวงปี่พาทย์นั้น ทุกๆ อย่างจะต้องย่อขนาดให้เล็กลง เพื่อให้เสียงเล็กและเบาลง ไม่กลบเสียงเครื่องดีดเครื่องสีที่มีอยู่แล้ว
 
.......................
 
 
วงมโหรีเครื่องคู่
          มีเครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวง ทั้งวิธีบรรเลงและหน้าที่ เหมือนกับวงมโหรีวงเล็กทุกอย่างแต่เพิ่มซอด้วงเป็น ๒ คัน ซออู้เป็น ๒ คัน จะเข้เป็น ๒  ตัว กับเพิ่มเครื่องดนตรีอีก ๓ อย่าง คือ
          ๑. ขลุ่ยหลิบ วิธีเป่าและหน้าที่เหมือนในวงเครื่องสายเครื่องคู่
          ๒. ระนาดทุ้ม วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงปี่พาทย์เครื่องคู่
          ๓. ฆ้องวงเล็ก มีขนาดเล็กกว่าฆ้องวงเล็กในวงปี่พาทย์ วิธีตีและหน้าที่เหมือนอย่างในวงปี่พาทย์เครื่องคู่ บางทีก็เพิ่มซอสามสายคันเล็ก เรียกว่า ซอสามสายหลิบ อีก ๑ คัน
 
 
....................... 
 
 
 
วงมโหรีเครื่องใหญ่
          มีเครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวง ตลอดจนวิธีบรรเลงและหน้าที่เหมือนกับวงมโหรีเครื่องคู่ทุกอย่าง แต่เพิ่มเครื่องดนตรีขึ้นอีก ๒ อย่าง คือ
          ๑. ระนาดเอกเหล็ก (หรือทอง) วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
          ๒. ระนาดทุ้มเหล็ก (หรือทอง) วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
          ในสมัยปัจจุบันมักจะเพิ่ม "ขลุ่ยอู้" ขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ขลุ่ยอู้นี้วิธีเป่าเหมือนกับขลุ่ยเพียงออแต่มีหน้าที่ดำเนินเนื้อเพลงเป็น ทำนองห่างๆ ในทางเสียงต่ำ
          ส่วนฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และโหม่ง ผสมได้ทั้งวงเล็ก เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่มีหน้าที่อย่างเดียวกับที่กล่าวแล้วในวงปี่พาทย์



 
 .......................
  

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

วงปี่พาทย์

วงปี่พาทย์


                ลักษณะทั่วไปของวงปี่พาทย์ มาครั้งนี้เราจะมาขยายความ เจาะลึกลงไปในเนื้อหาของปี่พาทย์ มีดังต่อไปนี้ ...



วงปี่พาทย์ชาตรี
                 
        วงดนตรีชนิดนี้เริ่มปรากฏหลักฐานตั้งแต่ครั้งสุโขทัยมาแล้ว ถือเป็นวงปี่พาทย์ยุคเริ่มแรกเลยก็ว่าได้ และเนื่องจากวงดนตรีชนิดนี้นิยมใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรี จึงเรียกกันว่าวงปี่พาทย์ชาตรี หรืออาจเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าปี่พาทย์เครื่องห้าชนิดเบา เนื่องมาจากการพิจารณาตามขนาดและน้ำหนักของเครื่องดนตรีที่มีขนาดเล็กและเบา ก็เป็นได้ วงปี่พาทย์ชาตรีประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีดังต่อไปนี้




               จะเห็นว่าการประสมวงปี่พาทย์ดังกล่าวนี้ ดำเนินตามเยี่ยงของปัญจดุริยางค์ของอินเดียโดยตรง โดยปัญจดุริยางค์นั้น จะประกอบด้วยเครื่องดนตรี ๕ ประเภท โดยมีเครื่องดนตรีที่สำคัญคือ สุสิร๐ (สิ่งที่มีรูกลวงภายใน ได้แก่ ปี่) อาตต๐ (สิ่งที่ขึ้นหนังหน้าเดียว ได้แก่ทับหรือโทน) ฯลฯ
ปัจจุบัน วงดนตรีไทยชนิดนี้ยังคงใช้ในการประกอบกับการเล่นละครพื้นเมือง เช่น โนราห์ ของทางหัวเมืองปักษ์ใต้ เป็นต้น

...............................


วงปี่พาทย์นางหงส์ 

       คือวงปี่พาทย์ชนิดหนึ่งที่นำเอาวงปี่พาทย์ไม้แข็งมาประสมกับวงบัวลอย โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบดังนี้
  • ใช้กลองมลายูมาตีแทนตะโพนและกลองทัด(บางที่ก็ใช้กลองทัดแทนกลองมลายู)
  • ใช้ปี่ชวามาเป่าแทนปี่ใน
  • เอาฆ้องเหม่งออก เพราะมีฉิ่งเป็นตัวควบคุมจังหวะแล้ว
       


       เหตุที่ใช้ชื่อวงปี่พาทย์นี้ว่าวงปี่พาทย์นางหงส์ก็เนื่องจากเรียกตาม ชื่อเพลงที่เล่นคือเพลงเรื่องนางหงส์ โดยจะใช้เล่นเฉพาะงานอวมงคลเท่านั้น ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยม เพราะได้หันมานิยมวงปี่พาทย์มอญแทน


...............................

วงปี่พาทย์ไม้นวม 

              กำเนิดของวงนี้มาจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบของ วงปี่พาทย์ไม้แข็ง กล่าวคือ เปลี่ยนหัวไม้ที่ใช้สำหรับการบรรเลงระนาดเอก  ฆ้องวงใหญ่  และฆ้องวงเล็ก จากที่เป็นหัวไม้แข็งก็มาใช้ไม้นวม (ใช้พันผ้าแล้วถักด้วยเส้นด้ายสลักจนนุ่ม)แทนทำให้ลดความดังและความเกรี้ยว กราดของเสียงลง เครื่องเป่าแต่เดิมที่ใช้ปี่ในซึ่งมีเสียงดังมากจึงเปลี่ยนมาใช้ขลุ่ยเพียงออแทนซึ่งมีเสียงเบากว่า และยังเพิ่มซออู้เข้าไปอีก ๑ คัน ทำให้วงมีเสียงนุ่มนวลและกลมกล่อมมากขึ้นกว่าเดิม

 ...............................

 วงปี่พาทย์ไม้แข็ง

               จัดเป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยม แพร่หลายสูงสุดในกลุ่มวงปี่พาทย์ และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่าเป็นวงดนตรีที่มีความเป็นมาตรฐานที่สูงสุดอีก ด้วย เครื่องดนตรีที่สังกัดในวงดนตรีประเภทนี้ทุกเครื่องจะมีเสียงดัง เนื่องจากบรรเลงด้วยไม้ตีชนิดแข็ง จึงเรียกชื่อวงดนตรีชนิดนี้ว่า ปี่พาทย์ไม้แข็ง ตามลักษณะของไม้ที่ใช้บรรเลง อรรถรสที่ได้จากการฟังดนตรีชนิดนี้จึงมีทั้งความหนักแน่น สง่าผ่าเผย คล่องแคล่ว และสนุกครึกครื้น 

    -งปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า
                     ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีรายการละ หนึ่งเครื่อง โดยแต่เดิมนั้นประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก (ทำหน้าที่ดำเนินลำนำ) ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน และกลองทัด จนมาเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงได้เพิ่มฉิ่งขึ้นอีกสิ่งหนึ่ง
 



                 ดังนั้น ในปัจจุบัน วงปี่พาทย์เครื่องห้า จึงประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีและกำกับจังหวะรวมกันเป็นจำนวน ๖ เครื่อง กล่าวกันว่า สาเหตุที่เรียกเครื่องห้าอาจเป็นเพราะตะโพนและกลองทัดจัดเป็นเครื่องดนตรี ตระกูลเครื่องหนังหรือกลองทั้งคู่ จึงนับจำนวนหน่วยเป็นหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดี ผู้รู้บางท่านก็ได้กล่าวไว้ในอีกแง่หนึ่งว่าการที่เรียกว่าปี่พาทย์เครื่อง ห้า แต่มีเครื่องดนตรี ๖ ชิ้นนั้น อาจเป็นเพราะผู้บรรเลงกลอง อาจจะเลือกตี ตะโพนหรือ กลองสองหน้าอย่างใดอย่างหนึ่งตามความเหมาะสมของเพลง เครื่องดนตรีต่างๆ มีดังนี้



  -งปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่
                     วงปี่พาทย์ชนิดนี้เกิดขึ้นในสมัย แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โดยมีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กขึ้นเพื่อให้คู่กับระนาดเอกและฆ้อง วงใหญ่ สาเหตุที่วงปี่พาทย์ไม้แข็งชนิดนี้ถูกเรียกว่าเครื่องคู่นั้น คงเนื่องมาจากรูปแบบของการประสมวงที่กำหนดจำนวนเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง ทำนองให้เป็นอย่างละสองเครื่องหรือเป็นคู่ กล่าวคือ ปี่ ๑ คู่ ระนาด ๑ คู่ และฆ้องวง ๑ คู่ เครื่องดนตรีและเครื่องกำกับจังหวะที่ประสมอยู่ในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่อง คู่ ประกอบด้วย


     -งปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่
                   วงดนตรีประเภทนี้เกิดขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยเครื่องดนตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่เป็น หลัก แต่มีการเพิ่มระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กขึ้นอีกอย่างละราง นับเป็นวงปี่พาทย์ไม้แข็งที่มีวิวัฒนาการสูงสุดในปัจจุบัน
ระนาดเอกเหล็ก ทำด้วยโลหะ เดิมเรียกว่าระนาดทอง เพราะว่า เมื่อประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกใช้ทองเหลืองทำลูกระนาด ปัจจุบันนิยมใช้เหล็ก หรือสเตนเลส ทำลูกระนาด ใช้วางเรียงบนรางไม้ มีผ้าพันหรือใช้ไม้ระกำวางพาดไปตามขอบราง สำหรับรองหัวท้ายลูกระนาด แทนการร้อยเชือก เนื่องจากลูกระนาดมีน้ำหนักมาก วิธีการบรรเลงเช่นเดียวกับระนาดเอกไม้ ส่วนระนาดทุ้มเหล็กนั้นลูกระนาดทำอย่างเดียวกับระนาดเอกเหล็ก แต่ทำให้ลูกใหญ่กว่า เป็นเสียงทุ้ม เลียน เสียงระนาดทุ้ม มีจำนวน ๑๖ - ๑๗ ลูก วิธีบรรเลงเช่นเดียวกับระนาดทุ้มไม้ ระนาดเหล็กทั้งสองรางนี้ นักดนตรีมักเรียกกันว่า “หัว-ท้าย” ทั้งนี้คงเนื่องจากระเบียบการจัดวงที่เครื่องดนตรีทั้งสองนี้ ถูกกำหนดตำแหน่งให้อยู่ด้านหัวและท้ายของวงนั่นเอง
วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เครื่องใหญ่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
 


  -งปี่พาทย์เสภา

         เป็นวงดนตรีไทยชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ในยุคแรกจะมีผู้ขับเสภาเป็นเรื่องราวต่างๆ พร้อมกับขยับกรับให้สอดประสานกับบทจนจบเร่อง ต่อมาได้มีดนตรีเข้ามาบรรเลงประกอบ แต่จะบรรเลงเฉพาะช่วงที่แสดงอารมณ์ต่างๆของตัวละคร ภายหลังได้นำบทเสภาบางตอนมาร้องส่งและให้วงปี่พาทย์รับ ในยุคต่อๆมา การขยับกรับเสภาที่เป็นเรื่องเป็นราวจึงค่อยๆหายไป คงเหลือแต่การนำบทเสภามาร้องส่งและให้วงปี่พาทย์รับ


         วงปี่พาทย์เสภาคล้ายกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง เพียงแต่เอาตะโพนกับกลองทัดออกและใช้กลองสองหน้าเป็นตัวกำกับหน้าทับแทน


   -วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

     เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้รับอิทธิพลจากละครโอเปร่าของยุโรป ซึ่งเจ้าพระยาเทเวศร์วงวิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ร่วม กันปรับปรุงขึ้น เหตุที่มีชื่อว่าดึกดำบรรพ์นั้นมาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์ฯ ก็เลยเรียกเรียกวงดนตรีนี้ตามชื่อของโรงละคร



...............................

ตัวอย่างวงปี่พาทย์ต่างๆ 
 


...............................

วงเครื่องสาย

วงเครื่องสาย


 วงเครื่องสายไทย 
          เป็นวงดนตรีที่เหมาะสำหรับการบรรเลงในอาคาร ในลักษณะของการขับกล่อมที่เป็นพิธีมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น วงเครื่องสายไทยนี้มักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า “วงเครื่องสาย” มีอยู่ ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายวงเล็กและวงเครื่องสายเครื่องคู่

   งเครื่องสายวงเล็ก ประกอบด้วย เครื่องดนตรีเครื่องสายและเป่าอย่างละหนึ่งเครื่อง ดังนี้





          งเครื่องสายเครื่องคู่ วงเครื่องสายเครื่องคู่ประกอบด้วย เครื่องดนตรีที่อยู่ในวงเครื่องสายวงเล็กเป็นหลัก โดยเพิ่มจำนวนของเครื่องดนตรีประเภททำทำนองจากเครื่องมือละหนึ่งเครื่องเป็น สองเครื่องหรือเป็นคู่ ดังต่อไปนี้





..........................
งเครื่องสายผสม
    เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วย เครื่องดนตรีอย่างที่สังกัดในวงเครื่องสายไทย เพียงแต่เพิ่มเอาเครื่องดนตรีที่อยู่นอกเหนือจากวงเครื่องสายไทย หรืออาจจะเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมือง หรือเครื่องดนตรีของต่างชาติก็ได้ มาบรรเลงร่วมด้วย เช่น ไวโอลิน ออร์แกน ขิม หีบเพลงชัก เปียโน ระนาด แคน (หรือแม้แต่ซอสามสายอันเป็นเครื่องสีก็ตาม) เป็นต้น ซึ่งเครื่องดนตรีที่นำมาผสมนั้นต้องคำนึงถึงคุณลักษณะของเสียงด้วยว่ามีความ กลมกลืนมากน้อยเพียงใด          

     การเรียกชื่อวงจะเรียกตามตามเครื่องดนตรีที่นำมาผสม เช่น ถ้านำขิมมาบรรเลงร่วมก็จะเรียกว่า วงเครื่องสายผสมขิม ถ้าหากนำออร์แกนมาบรรเลงร่วม ก็เรียกว่า วงเครื่องสายผสมออร์แกน ฯลฯ สำหรับโอกาสในการบรรเลงนั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับวงเครื่องสายไทยทุกประการ






ในบางครั้งวงเครื่องสายประเภทนี้จะ นำเอาจะเข้ซึ่งมีเสียงดังออกเสียด้วย เนื่องจากเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงร่วมนั้นมีเสียงเบากว่ามาก เช่น ในวงเครื่องสายผสมขิมหรือไวโอลินบางวง เป็นต้น
..........................
งเครื่องสายปี่ชวา      
 
       ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเป็นหลัก และนำเอาปี่ชวามาบรรเลงแทนขลุ่ยเพียงออ คงไว้แต่เพียงขลุ่ยหลิบซึ่งมีเสียงสูง และเปลี่ยนมาใช้กลองแขกบรรเลงจังหวะหน้าทับแทน วงเครื่องสายปี่ชวามี ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็กและวงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่ 
 วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็ก ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
         

       วงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็กเป็นหลัก โดยเพิ่มเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายให้เป็น 2 หรือคู่ ดังนี้
..........................

.. วงดนตรีไทย ..

.. วงดนตรีไทย ..



        ดนตรีไทยมักเล่นเป็นวงดนตรี มีการแบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันเป็น 3 ประเภท คือ
  • งปี่พาทย์
        ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นสำคัญ เช่น ฆ้อง กลอง และมีเครื่องเป่าเป็นประธานได้แก่ ปี่ นอกจากนั้นเป็นเครื่อง วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ วงปี่พาทย์ชาตรี,วงปี่พาทย์ไม้แข็ง,วงปี่พาทย์เครื่องห้า,วงปี่พาทย์เครื่องคู่,วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่,วงปี่พาทย์ไม้นวม,วงปี่พาทย์มอญ,วงปี่พาทย์นางหงส์
  • งเครื่องสาย
        เครื่องสาย ได้แก่ เครื่องดนตรี ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสายเป็นประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว,วงเครื่องสายเครื่องคู่,วงเครื่องสายผสม,วงเครื่องสายปี่ชวา
  • งมโหรี
        ในสมัยโบราณเป็นคำเรียกการบรรเลงโดยทั่วไป เช่น "มโหรีเครื่องสาย" "มโหรีปี่พาทย์" ในปัจจุบัน มโหรี ใช้เป็นชื่อเรียกเฉพาะวงบรรเลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกันหมด ฉะนั้นวงมโหรีก็คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ ผสมกัน วงมโหรีแบ่งเป็น วงมโหรีเครื่องสี่,วงมโหรีเครื่องหก,วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก,วงมโหรีเครื่องคู่

............

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องเป่า

..เครื่องเป่า..

             เป็น เครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงจากลมเป่า อุปกรณ์ดังเดิมได้จากพืช ได้แก่หลอดไม้ต่าง ๆ และจากสัตว์ ได้แก่ เขาสัตว์ต่างๆ ต่อมาได้มีวิวัฒนาการด้วยการเจาะรูและทำลิ้น เพื่อให้เกิดระดับเสียงได้มาก เครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ขลุ่ย และปี่ ชนิดต่างๆ 

............................

 

ตัวอย่างเครื่องเป่า

       ปี่ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า ปกติ เลาปี่ ทำด้วยไม้แก่น ต่อมามีผู้คิดทำด้วยงา โดยกลึงให้เป็นรูปบานหัว และบานท้าย ช่วงกลางป่อง ภายในกลวง ทางหัวใส่ลิ้นเป็นช่องรูเล็ก ทางท้ายปากรูใหญ่ ใช้งา ชัน หรือวัสดุอย่างอื่นมาหล่อเสริมตอนหัว และตอนท้าย เรียกว่า "ทวน" ทางหัวเรียกว่า "ทวนบน" ทางท้ายเรียกว่า "ทวนล่าง" ช่วงที่ป่องกลาง เจาะรูนิ้วสำหรับเปลี่ยนเสียง เรียงลงมาตามข้างเลาปี่ จำนวน ๖ รู ที่รูเป่าตอนทวนบนใส่สิ้นสำหรับเป่าเรียกว่า ลิ้นปี่ ทำด้วยใบตาลซ้อน ๔ ชั้น ตัดกลมผูกติดกับท่อกลมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "กำพวด" ทำด้วยโลหะ มีลักษณะเรียว วิธีผูกเชือกให้ลิ้นใบตาลติดกับกำพวดเรียกว่า "ผูกตะกรุดเบ็ด"

ปี่ แต่เดิมคงจะใช้เป่านำวงดนตรี และใช้กับวงเครื่องตีเป็นพื้นจึงเรียกว่า วงปี่พาทย์ ปี่ไทยมีสามขนาดด้วยกันคือ ปี่นอกเป็นขนาดเล็ก ปี่กลางเป็นขนาดกลาง และปี่ในเป็นขนาดใหญ่ 

............................

 

     ลุ่ย เป็นเครื่องเป่าดั้งเดิมของไทย มีรูสำหรับนับเสียงสูง ต่ำ 7 รู นอกจากใช้เป่าเล่นเพื่อความบันเทิงแล้ว ยังใช้เป่าร่วมในวงเครื่องสาย วงปี่พาทย์ไม้นวม วงมโหรี และวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์อีกด้วย ขลุ่ย มักทำจากไม้รวก ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง และงาช้าง แต่ที่ทำจากไม้รวกจะให้เสียงนุ่มนวล ไพเราะกว่า ขลุ่ยมี 5 ชนิด คือ ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยนก ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลีบ และขลุ่ยอู้

 

............................

 

ตัวอย่างการเล่นปี่

............................

 ที่มา blog.eduzones.com/omike/3676

           th.wikipedia.org/wiki/ดนตรีไทย

เครื่องตี

..เครื่องตี..

        เป็น เครื่องดนตรีที่ทำให้เกิด เสียงดนตรีด้วยการใช้ของสองสิ่งกระทบกัน ด้วยการตี นับว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภท เก่าแก่ที่สุดที่ที่มนุษย์รู้จักใช้ ได้มีวิวัฒนาการจากอุปกรณ์ง่ายๆ ให้มี ความหลากหลายออกไปทั้งรูปแบบและวัสดุที่ใช้

...................


ตัวอย่างเครื่องตี 

  รับ มีลักษณะเป็นท่อนไม้ ใช้ตีกระทบกันเกิดเสียงดังกรับแบ่งเป็น 3 ชนิด 
                   -กรับคู่ ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก ใช้ตีให้ผิวกระทบกันทางด้านแบน เป็นจังหวะประกอบการขับร้องและฟ้อนรำ บางครั้งใช้ตีรัวเป็นสัญญาณ
                   
                   -กรับพวง ทำด้วยไม้บางๆ หรือแผ่นทองเหลืองหรืองาหลายๆอัน เจาะรูร้อยเชือกประกอบไว้ 2 ข้างเหมือนพัด เวลาตีใช้มือข้างหนึ่งฟาดลงบนฝ่ามือข้างหนึ่ง ใช้เป็นสัญญาณในการเสด็จออกในงานพระราชพิธีของพระเจ้าแผ่นดิน ใช้แทนกรับคู่ที่เรียกว่ารัวกรับต่อมาใช้ตีเป็นจังหวะในการขับร้องเพลงเรือ ดอกสร้อยสักวา และใช้ในการบรรเลงขับร้องและการแสดงนาฏกรรม
                   
                  - กรับเสภา ทำด้วยไม้แก่น ใช้ตีกลิ้งกลอกกระทบกัน ประกอบการขับเสภา ซึ่งผู้ขับคนหนึ่งจะต้องใช้กรับ 4 อัน โดยถือในมือข้างละคู่ กล่าวขับไปมือทั้งสองข้างก็ขยับกรับแต่ละคู่ในมือแต่ละข้างห้กระทบกันเข้าจังหวะกับเสียงขับสร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการขับเสภาเฉพาะ
     
...................


                      ะนาดเอกเหล็ก หรือ ระนาดทอง เป็นเครื่องโลหะที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเลียนแบบระนาดเอก (ไม้) และใช้ในลักษณะเดียวกัน ระนาดชนิดนี้ ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมลูกระนาดทำด้วยทองเหลือง จึงเรียกว่า ระนาดทองระนาดเอกเหล็กมีจำนวน 20 หรือ 21 ลูก โดยวางไว้บนรางที่มีไม้ระกำวางพาดไปตามของราง หากไม่มีไม้ระกำ ก็อาจใช้ผ้าพันไม้แล้วนำมารองลูกระนาดก็ได้ ลูกต้น ของระนาดเอกเหล็กมีขนาด 23.5 ซม กว้างประมาณ 5 ซม ลดหลั่นขึ้นไปจนถึงลูกยอดที่มีขนาด 19 ซม กว้างประมาณ 4 ซม รางของระนาดเอกเหล็กนั้น ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีเท้ารองรับไว้ทั้ง 4 ด้านหรืออาจใส่ลูกล้อเพื่อสะดวกในการขนย้ายก็ได้ สำหรับการเล่นหรือวิธีบรรเลง มีวิธีเช่นเดียวกับระนาดเอก แต่ในทางเก็บ ทางขยี้มีน้อยกว่า ระนาดเอก ปัจจุบัน ใช้บรรเลงในวงมโหรีและวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ โดยบรรเลงคู่กับระนาดทุ้มเหล็ก


         ...................



     ฆ้องวง นำเอาลูกฆ้องมาเรียงร้อยในเรือนหวาย เรียงลำดับเสียงลดหลั่นกันจากเสียงต่ำไปเสียงสูง มี 2 ขนาด คือ
     
                           -ฆ้องวงใหญ่  เป็นเครื่องดนตรีที่คิดประดิษฐ์ขึ้นมาจากฆ้องเดี่ยว ฆ้องคู่ และฆ้องราว วงฆ้องใช้ต้นหวายโป่งทำเป็นร้าน สูงประมาณ 24 ซม ระหว่างหวายเส้นนอกกับหวายเส้นในห่างกันประมาณ 14 – 17 ซม ดัดให้โค้งเป็นวงรอบตัวคนนั่งตี ฆ้องชนิดนี้มีลักษณะเป็นวงเปิดช่องไว้ให้เป็นทางเข้าของคนตีทางด้านหลังเล็ก น้อยผูกลูกฆ้องเรียงลำดับจากลูกต้นไปหาลูกยอดหรือจากลูกที่ใหญ่ไปหาลูกฆ้อง ขนาดเล็ก หรือ จากเสียงต่ำไปหาเสียงสูง เสียงต่ำจะอยู่ทางซ้ายมือของผู้เล่น ฆ้องวงหนึ่ง มีลูกฆ้องประมาณ 16 ลูก ไม้ตีทำด้วยแผ่นหนังดิบ ตัดเป็นวงกลมเจาะกลางสอดด้ามไม้สำหรับถือ ฆ้องวงใหญ่ ทำหน้าที่ดำเนินแม่บท หรือเป็นหลัก เป็นทำนองเพลงที่แท้จริงของวงดนตรีไทย ซึ่งเรียกกันว่าลูกฆ้องหมายถึง ทำนองเพลงพื้นฐาน เครื่องตีชนิดอื่นจะแปลลูกฆ้องไปตามแนวของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด

                     
          -ฆ้องวงเล็ก สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประดิษฐ์เลียนแบบฆ้องวงใหญ่ แต่ทำขนาดของลูกฆ้องและวงฆ้องให้มีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย วัดจากขอบวงในด้านซ้ายมือถึงของวงในด้านขวา กว้างประมาณ 80 ซม. เรือนฆ้องสูง 20 ซม. ทำหน้าที่แปรลูกฆ้องเป็นทำนองเต็ม แต่แปลเรียบร้อยต่างจากระนาดเอก เสียงของฆ้องวงเล็กจะสูง และดังกังวาน ฆ้องวงเล็กวงหนึ่งมีลูกฆ้อง 18 ลูก โดยเพิ่มเสียงไปทางลูกบอด 2 ลูก นับตั้งแต่นั้นมา วงปี่พาทย์จึงมีฆ้องวง 2 วง นอกจากใช้บรรเลงร่วมในวงปี่พาทย์แล้วต่อมายังได้ย่อขนาดให้เล็กลงเพื่อใช้กับวงมโหรีอีกด้วย


 ...................


ตัวอย่างการเล่นระนาดเอก

 
  

...................

ที่มา www.lks.ac.th/band/page7_5.htm
        www.bs.ac.th/musicthai/s2.html