วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องตี

..เครื่องตี..

        เป็น เครื่องดนตรีที่ทำให้เกิด เสียงดนตรีด้วยการใช้ของสองสิ่งกระทบกัน ด้วยการตี นับว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภท เก่าแก่ที่สุดที่ที่มนุษย์รู้จักใช้ ได้มีวิวัฒนาการจากอุปกรณ์ง่ายๆ ให้มี ความหลากหลายออกไปทั้งรูปแบบและวัสดุที่ใช้

...................


ตัวอย่างเครื่องตี 

  รับ มีลักษณะเป็นท่อนไม้ ใช้ตีกระทบกันเกิดเสียงดังกรับแบ่งเป็น 3 ชนิด 
                   -กรับคู่ ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก ใช้ตีให้ผิวกระทบกันทางด้านแบน เป็นจังหวะประกอบการขับร้องและฟ้อนรำ บางครั้งใช้ตีรัวเป็นสัญญาณ
                   
                   -กรับพวง ทำด้วยไม้บางๆ หรือแผ่นทองเหลืองหรืองาหลายๆอัน เจาะรูร้อยเชือกประกอบไว้ 2 ข้างเหมือนพัด เวลาตีใช้มือข้างหนึ่งฟาดลงบนฝ่ามือข้างหนึ่ง ใช้เป็นสัญญาณในการเสด็จออกในงานพระราชพิธีของพระเจ้าแผ่นดิน ใช้แทนกรับคู่ที่เรียกว่ารัวกรับต่อมาใช้ตีเป็นจังหวะในการขับร้องเพลงเรือ ดอกสร้อยสักวา และใช้ในการบรรเลงขับร้องและการแสดงนาฏกรรม
                   
                  - กรับเสภา ทำด้วยไม้แก่น ใช้ตีกลิ้งกลอกกระทบกัน ประกอบการขับเสภา ซึ่งผู้ขับคนหนึ่งจะต้องใช้กรับ 4 อัน โดยถือในมือข้างละคู่ กล่าวขับไปมือทั้งสองข้างก็ขยับกรับแต่ละคู่ในมือแต่ละข้างห้กระทบกันเข้าจังหวะกับเสียงขับสร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการขับเสภาเฉพาะ
     
...................


                      ะนาดเอกเหล็ก หรือ ระนาดทอง เป็นเครื่องโลหะที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเลียนแบบระนาดเอก (ไม้) และใช้ในลักษณะเดียวกัน ระนาดชนิดนี้ ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมลูกระนาดทำด้วยทองเหลือง จึงเรียกว่า ระนาดทองระนาดเอกเหล็กมีจำนวน 20 หรือ 21 ลูก โดยวางไว้บนรางที่มีไม้ระกำวางพาดไปตามของราง หากไม่มีไม้ระกำ ก็อาจใช้ผ้าพันไม้แล้วนำมารองลูกระนาดก็ได้ ลูกต้น ของระนาดเอกเหล็กมีขนาด 23.5 ซม กว้างประมาณ 5 ซม ลดหลั่นขึ้นไปจนถึงลูกยอดที่มีขนาด 19 ซม กว้างประมาณ 4 ซม รางของระนาดเอกเหล็กนั้น ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีเท้ารองรับไว้ทั้ง 4 ด้านหรืออาจใส่ลูกล้อเพื่อสะดวกในการขนย้ายก็ได้ สำหรับการเล่นหรือวิธีบรรเลง มีวิธีเช่นเดียวกับระนาดเอก แต่ในทางเก็บ ทางขยี้มีน้อยกว่า ระนาดเอก ปัจจุบัน ใช้บรรเลงในวงมโหรีและวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ โดยบรรเลงคู่กับระนาดทุ้มเหล็ก


         ...................



     ฆ้องวง นำเอาลูกฆ้องมาเรียงร้อยในเรือนหวาย เรียงลำดับเสียงลดหลั่นกันจากเสียงต่ำไปเสียงสูง มี 2 ขนาด คือ
     
                           -ฆ้องวงใหญ่  เป็นเครื่องดนตรีที่คิดประดิษฐ์ขึ้นมาจากฆ้องเดี่ยว ฆ้องคู่ และฆ้องราว วงฆ้องใช้ต้นหวายโป่งทำเป็นร้าน สูงประมาณ 24 ซม ระหว่างหวายเส้นนอกกับหวายเส้นในห่างกันประมาณ 14 – 17 ซม ดัดให้โค้งเป็นวงรอบตัวคนนั่งตี ฆ้องชนิดนี้มีลักษณะเป็นวงเปิดช่องไว้ให้เป็นทางเข้าของคนตีทางด้านหลังเล็ก น้อยผูกลูกฆ้องเรียงลำดับจากลูกต้นไปหาลูกยอดหรือจากลูกที่ใหญ่ไปหาลูกฆ้อง ขนาดเล็ก หรือ จากเสียงต่ำไปหาเสียงสูง เสียงต่ำจะอยู่ทางซ้ายมือของผู้เล่น ฆ้องวงหนึ่ง มีลูกฆ้องประมาณ 16 ลูก ไม้ตีทำด้วยแผ่นหนังดิบ ตัดเป็นวงกลมเจาะกลางสอดด้ามไม้สำหรับถือ ฆ้องวงใหญ่ ทำหน้าที่ดำเนินแม่บท หรือเป็นหลัก เป็นทำนองเพลงที่แท้จริงของวงดนตรีไทย ซึ่งเรียกกันว่าลูกฆ้องหมายถึง ทำนองเพลงพื้นฐาน เครื่องตีชนิดอื่นจะแปลลูกฆ้องไปตามแนวของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด

                     
          -ฆ้องวงเล็ก สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประดิษฐ์เลียนแบบฆ้องวงใหญ่ แต่ทำขนาดของลูกฆ้องและวงฆ้องให้มีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย วัดจากขอบวงในด้านซ้ายมือถึงของวงในด้านขวา กว้างประมาณ 80 ซม. เรือนฆ้องสูง 20 ซม. ทำหน้าที่แปรลูกฆ้องเป็นทำนองเต็ม แต่แปลเรียบร้อยต่างจากระนาดเอก เสียงของฆ้องวงเล็กจะสูง และดังกังวาน ฆ้องวงเล็กวงหนึ่งมีลูกฆ้อง 18 ลูก โดยเพิ่มเสียงไปทางลูกบอด 2 ลูก นับตั้งแต่นั้นมา วงปี่พาทย์จึงมีฆ้องวง 2 วง นอกจากใช้บรรเลงร่วมในวงปี่พาทย์แล้วต่อมายังได้ย่อขนาดให้เล็กลงเพื่อใช้กับวงมโหรีอีกด้วย


 ...................


ตัวอย่างการเล่นระนาดเอก

 
  

...................

ที่มา www.lks.ac.th/band/page7_5.htm
        www.bs.ac.th/musicthai/s2.html 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น